วันจันทร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2556

คำซ้ำ
คำซ้ำ เป็นการซ้ำคำมูลเดิม ความหมายของคำซ้ำอาจเหมือนคำมูลเดิม หรืออาจมีน้ำหนักมากขึ้นหรือเบาลง หรือแสดงความเป็นพหูพจน์ เช่น เขียว ๆ แดง ๆ ไกล ๆ มาก ๆ น้อย ๆ ช้า ๆ เร็ว ๆ ดัง ๆ ถี่ ๆ ห่าง ๆ จริง ๆ เพื่อน ๆ หลาน ๆ ฯลฯ
            คำซ้ำ คือ การนำคำมูลมากล่าวซ้ำ ๒ ครั้ง เมื่อเขียนนิยมใช้ไม้ยมกแทนคำหลัง
 ตัวอย่างคำซ้ำในคำซ้อน
          ผัว ๆ เมีย ๆ (ความหมายเท่าผัวเมีย)
          สวย ๆ งาม ๆ (ความหมายเท่าสวยงาม)
          ดึก ๆ ดื่น ๆ (ความหมายหนักกว่าดึกดื่น)
          ด้อม ๆ มอง ๆ (ความหมายเบาลงกว่าด้อมมอง)
          ลูก ๆ หลาน ๆ (ความหมายแสดงจำนวนมากกว่าลูกหลาน)
 ตัวอย่างประโยคที่มีรูปลักษณ์ของคำซ้ำ
          ฉันมีเพื่อน ๆ เป็นคนต่างจังหวัด
          ลูก ๆ ของพระยาพิชัยรับราชการทุกคน
          พวกเราเข้าไปนั่งเงียบ ๆ ฟังเสียหน่อย เกรงใจเจ้าภาพ
          ฉันไม่ได้ตั้งใจดูเขาหรอก แต่รู้สึกว่าเขามีผิวสีดำ ๆ
 วิธีการซ้ำคำ
-         นำคำนาม คำสรรพนาม คำกริยา หรือคำวิเศษณ์มากล่าวซ้ำ เช่น เด็ก ๆ เรา ๆ กิน ๆ
-         นำคำที่ซ้ำกัน  คำมาซ้อนกัน แต่คำคู่นั้นจะต้องมีความหมายใกล้เคียงกัน เช่น สวย ๆ งาม ๆ เรา ๆ ท่าน ๆ เป็น ๆ หาย ๆ
-         นำคำซ้ำกัน โดยเปลี่ยนเสียงวรรณยุกต์ เพื่อเน้นความหมาย เช่น ซ้วยสวย ดี๊ดี เจ็บใจ๊เจ็บใจ ดีใจ๊ดีใจ
ความหมายของคำซ้ำ
-         การซ้ำคำทำให้เกิดความหมายแตกต่างกันไปในลักษณะต่าง ๆ กัน ดังนี้
      ซ้ำคำทำให้เป็นพหูพจน์ แสดงถึงจำนวนมากกว่าหนึ่ง เช่น
      เด็ก ๆ ไปโรงเรียน (หมายถึงเด็กหลายคน)
      ใคร ๆ ก็มาทั้งนั้น (หมายถึงคนหลายคน)
-          ซ้ำคำเพื่อแสดงการแยกจำนวน เช่น   
     ทำให้เสร็จเป็นอย่าง ๆ ไป (หมายถึงทีละอย่าง )
     ครูตรวจการบ้านนักเรียนเป็นคน ๆ (หมายถึงทีละคน)
-         ซ้ำคำเพื่อแสดงความหมายเป็นกลาง ๆ เช่น
    ผ้าดี ๆ อย่างนี้หาซื้อไม่ได้
    ฉันไม่ซื้อปลาเป็น ๆ มาทำกับข้าว
    แต่ถ้าต้องการเน้นน้ำหนักให้เปลี่ยนเสียงวรรณยุกต์ ในกรณีเป็นภาษาพูด เช่น    
    เสื้อตัวนี้ซ้วยสวย
    ไปทำอะไรมาตัวด๊ำดำ

-         ซ้ำคำเพื่อแสดงความหมายโดยประมาณหรือไม่เจาะจง เช่น
            เธอมาหาฉันแต่เช้า ๆ หน่อย (ไม่เจาะจงเวลา)
            เขาเดินอยู่แถว ๆ บางเขน (ไม่เจาะจงว่าสถานที่ใด)
            เขาทำอะไรผิด ๆ อยู่เสมอ (ไม่เจาะจงว่าผิดอะไร)
-         ซ้ำคำเพื่อให้เป็นคำสั่ง มักเน้นคำขยายหรือบุพบท เช่น
            ทำดี ๆ นะ (ซ้ำคำขยาย)
            เดินเร็ว ๆ (ซ้ำคำขยาย)
             นั่งใน ๆ (ซ้ำคำบุพบท)
-         ซ้ำคำเพื่อแสดงกิริยาว่าทำติดต่อกันไปเรื่อย ๆ และจะเน้นคำที่กริยา
             เขาพูด ๆ อยู่ก็เป็นลม
            เขายืน ๆ อยู่ก็ถูกจับ
-          ซ้ำคำเพื่อแสดงลักษณะส่วนใหญ่ในกลุ่มหรือในหมู่คณะ เช่น
             มีแต่ของเก่า ๆ กินแต่ของดี ๆ มีแต่คนเลว ๆ
-         ซ้ำคำเพื่อแสดงอาการหรือเหตุการณ์ที่ต่อเนื่องกัน เช่น
             ฝนตกปรอย ๆ    
             เด็กวิ่งตั๊ก ๆ
             ปลาดิ้นพราด ๆ
-         ซ้ำคำเลียนเสียงธรรมชาติ ได้แก่
            เสียงสัตว์ร้อง เช่น เหมียว ๆ โฮ่ง ๆ กุ๊ก ๆ
            เสียงเด็กร้องได้ เช่น อุแว้ ๆ แง ๆ
            เสียงธรรมชาติ เช่น โครม ๆ ซู่ ๆ เปรี้ยง ๆ
-         ซ้ำคำทำให้เกิดความหมายใหม่ เช่น
             เดี๋ยว ๆ เขาก็มองออกไปทางประตู
             อยู่ ๆ ก็ลุกขึ้นกระโดด (ไม่มีสาเหตุ)
             ของพื้น ๆ อย่างนี้ใครก็ทำได้ (ของธรรมดา)
            เรื่องผี ๆ ไม่น่าฟัง (ไม่ดี)
            ทำอะไรลวก ๆ (หยาบ)
ความมุ่งหมายในการสร้างคำซ้ำ
     ซ้ำเพื่อเน้นความหมายเดิมให้ชัดเจนยิ่งขึ้น คำซ้ำประเภทนี้มักจะเป็นคำวิเศษณ์ เช่น ดัง ๆ วุ่น ๆ ค่อย ๆ
     ซ้ำเพื่อบอกความหมายของเวลาหรือสถานที่โดยประมาณ เช่น ใกล้ ๆ ข้าง ๆ ดึก ๆ เช้า ๆ
     ซ้ำเพื่อบอกความหมายเป็นเอกพจน์ ซึ่งคำซ้ำชนิดนี้มักสร้างจากคำลักษณะนาม เช่น เรื่อ ๆ ส่วน ๆ ชิ้น ๆ
     ซ้ำเพื่อบอกความหมายเป็นพหูพจน์ เช่น เพื่อน ๆ เด็ก ๆ
     ซ้ำเพื่อบอกความหมายกว้างออกไป เช่น นั่ง ๆ นอน ๆ
     ซ้ำเพื่อให้เกิดความหมายใหม่ เช่น หมู ๆ พื้น ๆ


คำซ้อน
คำซ้อน หมายถึง การสร้างคำอีกรูปแบบหนึ่ง มีวิธีการเช่นเดียวกับการประสมคำ จึงอนุโลมให้เป็นคำประสมได้ ความแตกต่างระหว่างคำประสมทั่วไปกับคำซ้อน คือ คำซ้อนจะสร้างคำโดยนำคำที่มีความหมายคู่กันหรือใกล้เคียงกันมาซ้อนกัน คำที่มาซ้อนกันจะทำหน้าที่ขยายและไขความซึ่งกันและกันและทำให้เสียงกลมกลืนกันด้วย เช่น 
          คำซ้อนที่มีเสียงพยัญชนะเดียวกัน ได้แก่ วนเวียน ชุกชุม ร่อแร่ ฯลฯ
          คำซ้อนที่ใช้เสียงตรงข้าม ได้แก่ หนักเบา เป็นตาย มากน้อย ฯลฯ
          คำซ้อนที่ใช้คำความหมายเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน ได้แก่ บ้านเรือน อ้วนพี มากมาย ฯลฯ
          คำซ้อน ๔ คำ ที่มีคำที่ ๑ และคำที่ ๓ เป็นคำ ๆ เดียวกัน ได้แก่ ผู้หลักผู้ใหญ่ ร้อนอกร้อนใจ เข้าได้เข้าไป ฯลฯ
          คำซ้อนที่เป็นกลุ่มคำมีเสียงสัมผัส ได้แก่ เก็บหอมรอมริบ ข้าวยากหมากแพง รู้จักมักคุ้นฯลฯ    
·        คำที่ประกอบขึ้นด้วยคำ ๒ คำขึ้นไปที่มีความหมายทำนองเดียวกัน เช่น จิตใจ ถ้วยชาม ข้าทาส ขับไล่ ขับกล่อม ค่างวด ฆ่าแกง หยูกยา เยียวยา แก่นสาร ทอดทิ้ง ท้วงติง แก้ไข ราบเรียบ เหนื่อยหน่าย ทำมาค้าขาย ชั่วนาตาปี 
·        คำที่ประกอบขึ้นด้วยคำ ๒ คำขึ้นไปที่มีความหมายตรงกันข้าม เช่น หอมเหม็น ถูกแพง หนักเบา ยากง่าย มีจน ถูกผิด ชั่วดีมีจน หน้าไหว้หลังหลอก 
·        คำซ้อนที่ประกอบด้วยคำ ๒ คำขึ้นไปที่ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะเสียงเดียวกันหรือมีเสียงสระเข้าคู่กัน เช่น เกะกะ เปะปะ รุ่งริ่ง โยกเยก กรอบแกรบ กรีดกราด ฟืดฟาด มากมายก่ายกอง อีลุ่ยฉุยแฉก          

คำซ้อนแบ่งออกได้ ๒ ประเภทดังนี้
๑. คำซ้อนเพื่อเสียง เป็นการนำคำที่มีความหมายคล้ายคลึงกันมาซ้อนกัน เพื่อให้ออกเสียงง่ายขึ้น และมีเสียงคล้องจองกัน ทำให้เกิดความไพเราะขึ้น คำซ้อนเพื่อเสียงนี้บางทีเรียกว่าคำคู่ หรือคำควบคู่นำคำที่มีพยัญชนะต้นเดียวกัน แต่แตกต่างกันที่เสียงสระ นำมาซ้อนหรือควบคู่กัน เช่น   เร่อร่า เซ่อซ่า อ้อแอ้ จู้จี้ เงอะงะ จอแจ ร่อแร่ ชิงช้า จริงจัง ทึกทัก หมองหมาง ตึงตัง นำคำแรกที่มีความหมายมาซ้อนกับคำหลัง ซึ่งไม่มีความหมาย เพื่อให้คล้องจองและออกเสียงได้สะดวก โดยเสริมคำข้างหน้าหรือข้างหลังก็ได้ ทำให้เน้นความเน้นเสียงได้ หนักแน่น โดยมากใช้ในคำพูด เช่น  กวาดแกวด กินแกน ดินแดน  มองเมิง ดีเด่ ไปเปย 
          นำคำที่มีพยัญชนะต้นต่างกันแต่เสียงสระเดียวมาซ้อนกันหรือควบคู่กัน เช่น เบ้อเร่อ แร้นแค้น จิ้มลิ้ม  ออมชอม อ้างว้าง เรื่อยเจื้อย ราบคาบ
         นำคำที่มีพยัญชนะต้นเหมือนกัน สระเสียงเดียวกัน แต่ตัวสะกดต่างกันมาซ้อนกัน หรือควบคู่กัน เช่น
ลักลั่น อัดอั้น หย็อกหย็อย
๒.คำซ้อนเพื่อความหมาย เกิดจากคำมูลที่มีความหมายอย่างเดียวกัน ต่างกันเล็กน้อยหรือไปในทำนองเดียวกัน หรือต่างกันในลักษณะตรงข้าม เมื่อประกอบเป็นคำซ้อนจะมีความหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
          . ความหมายอยู่ที่คำใดคำหนึ่งหรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง คำอื่นหรือกลุ่มอื่นไม่ปรากฏความหมาย เช่น หน้าตา ปากคอ เท็จจริง ดีร้าย ผิดชอบ ขวัญหนีดีฝ่อ ถ้วยชามรามไห จับไม่ได้ไล่ไม่ทัน
          . ความหมายอยู่ที่ทุกคำแต่เป็นความหมายที่กว้างออกไป เช่น
เสื้อผ้า ไม่ได้หมายเฉพาะเสื้อกับผ้า แต่รวมถึงเครื่องนุ่งห่ม
เรือแพ ไม่ได้หมายเฉพาะเรือกับแพ แต่รวมถึงยานพาหนะทางน้ำทั้งหมด
ข้าวปลา ไม่ได้หมายเฉพาะข้าวกับปลา แต่รวมถึงอาหารทั่วไป
พี่น้อง ไม่ได้หมายเฉพาะพี่กับน้อง แต่รวมถึงญาติทั้งหมด
หมูเห็ดเป็ดไก่ หมายรวมถึงสิ่งที่ใช้เป็นอาหารทั้งหมด
       ๓. ความหมายอยู่ที่คำต้นกับคำท้ายรวมกัน เช่น เคราะห์หามยามร้าย ( เคราะห์ร้าย ) ชอบมาพากล (ชอบกล)
ฤกษ์งามยามดี (ฤกษ์ดี) ยากดีมีจน (ยากจน)
       ๔. ความหมายอยู่ที่คำต้นหรือคำท้าย ซึ่งมีความหมายตรงข้ามกัน เช่น ชั่ว ดี (ชั่วดีอย่างไรเขาก็เป็นเพื่อนฉัน) ผิดชอบ (ความรับผิดชอบ) เท็จจริง (ข้อเท็จจริง)


 ความมุ่งหมายของการสร้างคำซ้อน
         เพื่อเน้นความให้ชัดเจนยิ่งขึ้น โดยความหมายยังคงเดิม เช่น ใหม่เอี่ยม ละเอียดลออ เสื่อสาด
ทำให้เกิดความหมายใหม่ในเชิงอุปมาอุปไมย เช่น ตัดสิน เบิกบาน เกี่ยวข้อง



อ้างอิง
http://www.thaigoodview.com/node/68046

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น