คำควบกล้ำ
คำควบกล้ำ (อักษรควบ) หมายถึง
พยัญชนะสองตัวเขียนเรียงกันอยู่ต้นพยางค์ และใช้สระเดียวกัน
เวลาอ่านออกเสียงกล้ำเป็นพยางค์เดียวกัน เสียงวรรณยุกต์ของพยางค์นั้นจะผันเป็นไปตามเสียงพยัญชนะตัวหน้า
พยัญชนะสองตัวเรียงกัน
มี ร ล ว ควบกับตัวหน้า |
ร่วมสระผันในหลักภาษา
เสียงที่ออกมาร่วมฟ้าเดียวกัน |
ข้อสังเกตว่าเป็นคำควบกล้ำ
1. คำควบกล้ำเวลาสะกดต้องมีพยัญชนะต้นสองตัว โดยจะมี ร ล ว รวมอยู่ในพยัญชนะต้น
เช่น กราบ สะกดว่า กร + อา + บ อ่านว่า กราบ
แปรง สะกดว่า ปร + แอ + ง อ่านว่า แปรง
กลาง สะกดว่า กล + อา + ง อ่านว่า กลาง
ควาย สะกดว่า คว + อา + ย อ่านว่า ควาย
แขวน สะกดว่า ขว + แอ + น อ่านว่า แขวน
2. เมื่อมีพยัญชนะต้นสองตัวแล้วแต่ต้องไม่อ่านออกเสียง อะกึ่งเสียงที่พยัญชนะต้น
เช่น ตลาด สะกดว่า ตล + อา + ด อ่านว่า ตะ - หลาด
สวาย สะกดว่า สว + อา + ย อ่านว่า สวาย
สว่าง สะกดว่า สว + อา + ง+ ่ อ่านว่า สว่าง
3. ต้องไม่ใช่คำที่มีหนำ
เช่น หรอก สะกดว่า หร + ออ + ก อ่านว่า หรอก
หลับ สะกดว่า หล + อะ + บ อ่านว่า หลับ
แหวน สะกดว่า หว + แอ+ น อ่านว่า แหวน
4. ระวังคำที่มีสระอัวเพราะจะไม่ใช่คำที่มีวควบกล้ำ
เช่น สวย สะกดว่า ส + อัว + ย อ่านว่า สวย
ควร สะกดว่า ค +อัว + ร อ่านว่า ควร
1. คำควบกล้ำเวลาสะกดต้องมีพยัญชนะต้นสองตัว โดยจะมี ร ล ว รวมอยู่ในพยัญชนะต้น
เช่น กราบ สะกดว่า กร + อา + บ อ่านว่า กราบ
แปรง สะกดว่า ปร + แอ + ง อ่านว่า แปรง
กลาง สะกดว่า กล + อา + ง อ่านว่า กลาง
ควาย สะกดว่า คว + อา + ย อ่านว่า ควาย
แขวน สะกดว่า ขว + แอ + น อ่านว่า แขวน
2. เมื่อมีพยัญชนะต้นสองตัวแล้วแต่ต้องไม่อ่านออกเสียง อะกึ่งเสียงที่พยัญชนะต้น
เช่น ตลาด สะกดว่า ตล + อา + ด อ่านว่า ตะ - หลาด
สวาย สะกดว่า สว + อา + ย อ่านว่า สวาย
สว่าง สะกดว่า สว + อา + ง+ ่ อ่านว่า สว่าง
3. ต้องไม่ใช่คำที่มีหนำ
เช่น หรอก สะกดว่า หร + ออ + ก อ่านว่า หรอก
หลับ สะกดว่า หล + อะ + บ อ่านว่า หลับ
แหวน สะกดว่า หว + แอ+ น อ่านว่า แหวน
4. ระวังคำที่มีสระอัวเพราะจะไม่ใช่คำที่มีวควบกล้ำ
เช่น สวย สะกดว่า ส + อัว + ย อ่านว่า สวย
ควร สะกดว่า ค +อัว + ร อ่านว่า ควร
ห้ามมี ห นำ ห้ามมีเสียง อะ
มีเสียง ห นำ มีเสียง อะ กั้น หรือมีเสียง อัว ถ้ามี ว ด้วย มิใช่ควบกล้ำอย่างที่คุ้นเคย |
หลอกหรือสวะตลาดสวรรค์
อย่าไปเรียกมันว่าคำควบเลย มันอ่านว่า ซวย เสียแล้วหละเหวย ฟังคำเฉลยที่จะรำพัน |
พยัญชนะต้นควบกับ ร ได้แก่ ครู เพราะ ครัว
กรน ปรวนแปร ขรุขระ พระ ตรง ครั้ง กราบ โปรด ปรักปรำ ครื้นเครง เคร่งครัด ครอบ
ปรอย กรอง
คำที่มีรเป็นคำควบกล้ำ
คำควบกล้ำคือคำที่อ่านออกเสียงพยัญชนะต้น ทั้งสองตัวหน้า เป็นเสียงกล้ำพร้อมกันมี กร- ขร- คร- ตร- ปร- พร- เช่น เต่ากระ มะกรูด ปลากราย กราบพระ ครีบปลา หอยแครง พริกไทย เครื่องบิน แปรงฟัน เสือโคร่ง
พยัญชนะต้นควบกับ ลได้แก่ เปล่า ปลีก คลาน คลุก เคล้า เปลี่ยนแปลง กลบ กลม เพลิดเพลิน เกลี้ยกล่อม เกลียวคลื่น คล่องแคล่ว เกล้า
คำที่มีลเป็นคำควบกล้ำ
คำควบกล้ำคือคำที่อ่านออกเสียงพยัญชนะต้น ทั้งสองตัวหน้า เป็นเสียงกล้ำพร้อมกันมี กล- ขล- คล- ปล- พล- เช่น ของกลาง เป่าขลุ่ย กล่องนม เปลวไฟ ลำคลอง ปลีกล้วย พลอย แปลงผัก เกล็ดปลา ตีกลอง
พยัญชนะต้นควบกับ วได้แก่ กวาด ขวาน ควาย ขวิด แคว่งคว้าง แขวน ขวนขวาย คว่ำ ควาญ แกว่งไกว ความ แคว้น ขวัญ ควัน
คำที่มีวเป็นคำควบกล้ำ
คำควบกล้ำคือคำที่อ่านออกเสียงพยัญชนะต้น ทั้งสองตัวหน้า เป็นเสียงกล้ำพร้อมกันมี กว- ขว- คว- เช่น แตงกวา ไม้แขวนเสือ ขวาน ควันไฟ กวาง นอนคว่ำ ไขว่ห้าง สูงกว่า ควาย ไม้กวาด
คำที่มีรเป็นคำควบกล้ำ
คำควบกล้ำคือคำที่อ่านออกเสียงพยัญชนะต้น ทั้งสองตัวหน้า เป็นเสียงกล้ำพร้อมกันมี กร- ขร- คร- ตร- ปร- พร- เช่น เต่ากระ มะกรูด ปลากราย กราบพระ ครีบปลา หอยแครง พริกไทย เครื่องบิน แปรงฟัน เสือโคร่ง
พยัญชนะต้นควบกับ ลได้แก่ เปล่า ปลีก คลาน คลุก เคล้า เปลี่ยนแปลง กลบ กลม เพลิดเพลิน เกลี้ยกล่อม เกลียวคลื่น คล่องแคล่ว เกล้า
คำที่มีลเป็นคำควบกล้ำ
คำควบกล้ำคือคำที่อ่านออกเสียงพยัญชนะต้น ทั้งสองตัวหน้า เป็นเสียงกล้ำพร้อมกันมี กล- ขล- คล- ปล- พล- เช่น ของกลาง เป่าขลุ่ย กล่องนม เปลวไฟ ลำคลอง ปลีกล้วย พลอย แปลงผัก เกล็ดปลา ตีกลอง
พยัญชนะต้นควบกับ วได้แก่ กวาด ขวาน ควาย ขวิด แคว่งคว้าง แขวน ขวนขวาย คว่ำ ควาญ แกว่งไกว ความ แคว้น ขวัญ ควัน
คำที่มีวเป็นคำควบกล้ำ
คำควบกล้ำคือคำที่อ่านออกเสียงพยัญชนะต้น ทั้งสองตัวหน้า เป็นเสียงกล้ำพร้อมกันมี กว- ขว- คว- เช่น แตงกวา ไม้แขวนเสือ ขวาน ควันไฟ กวาง นอนคว่ำ ไขว่ห้าง สูงกว่า ควาย ไม้กวาด
อักษรตัวหน้ามี ก ข ค
หรือมี ป พ ร ล ร่วมกัน เรื่องคำควบกล้ำแท้กับไม่แท้ ถ้า จ ซ ส ควบ ร ไม้เรียว ถ้า ท ทหาร ควบ ร ไม้เรียว |
มี ร ล ว มาร่วมกันผัน
ส่วน ต ร นั้นรักเดียวใจเดียว ที่กล่าวมาแน่แน่แท้ไม่มีเสียว ไม่มีข้องเกี่ยวกับตัว ร เลย ออก ซ ซีดเซียวไม่เกี่ยว ร เลย
อ้างอิง
|
คำควบกล้ำ
คำควบกล้ำ คือ คำที่มีพยัญชนะต้น 2 ตัวเรียวกัน
ประสมสระเดียวกันและอ่านออกเสียงพยัญชนะต้นทั้ง 2 ตัว
พร้อมกัน ออกเสียงกล้ำกัน พยัญชนะตัวกล้ำ คือ พยัญชนะตัวหลัง ซึ่งพยัญชนะตัวกล้ำ
มีเพียง 3 ตัว ได้แก่ ร ล ว
1. คำควบกล้ำแท้ คือ คำที่มีพยัญชนะ 2 ตัว เรียงกัน พยัญชนะตัวหน้าเป็นตัว ร ล ว ประสมสระเดียวกันเวลาอ่านจะออกเสียงพยัญชนะทั้ง 2
ตัวพร้อมกัน เช่น
กร กราบ กรอบ โกรธ กริช
กล กลอง กลับ กลาย กลุ่ม
กว กวาง กวัดแกว่ง กว่า
ขว ขวาน ขวนขวาย ขวัญ ขวิด
คร ครู คราว ครั้ง ใคร ครีม
คล คลี่คลาย คลอง คลาน เคลื่อน
คว ความ คว่ำ
ปร ปราบปราม ปรุประ เปรียบ
พร เเพรวพราว
ผล ผลุนผลัน ผลิบาน
ตร ตรง ตรอม ตรู่ ตรอร
ปล เปลี่ยนเเปลง ปลอม
พล พลุ พลาด เพลิน พลาย
กร กราบ กรอบ โกรธ กริช
กล กลอง กลับ กลาย กลุ่ม
กว กวาง กวัดแกว่ง กว่า
ขว ขวาน ขวนขวาย ขวัญ ขวิด
คร ครู คราว ครั้ง ใคร ครีม
คล คลี่คลาย คลอง คลาน เคลื่อน
คว ความ คว่ำ
ปร ปราบปราม ปรุประ เปรียบ
พร เเพรวพราว
ผล ผลุนผลัน ผลิบาน
ตร ตรง ตรอม ตรู่ ตรอร
ปล เปลี่ยนเเปลง ปลอม
พล พลุ พลาด เพลิน พลาย
2. คำควบกล้ำไม่แท้ คือ คำที่มีพยัญชนะ 2 ตัวเรียงกัน พยัญชนะตัวหน้าเป็นตัว จ ซ ท ศ ส พยัญชนะตัวควบเป็นตัว ร ประสมสระเดียวกัน
เช่น
จร จริง
ศร เศร้า
ทร ทราบ ทราม ทราย เเทรก
ซร ไซร้
สร สร้าง เสริม
เวลาอานออกเสียงคำควบไม่แม้ ที่มีตัว จร ชร ศร และสร จะอ่านออกเสียงพยัญชนะตัวหน้าเท่านั้น ไม่ต้องออกเสียงตัว ร เช่น
จริง อ่านว่า จิง ไซร้ อ่านว่า ไซ้
เศร้า อ่านว่า เส้า สร้อย อ่านว่า ส้อย
จร จริง
ศร เศร้า
ทร ทราบ ทราม ทราย เเทรก
ซร ไซร้
สร สร้าง เสริม
เวลาอานออกเสียงคำควบไม่แม้ ที่มีตัว จร ชร ศร และสร จะอ่านออกเสียงพยัญชนะตัวหน้าเท่านั้น ไม่ต้องออกเสียงตัว ร เช่น
จริง อ่านว่า จิง ไซร้ อ่านว่า ไซ้
เศร้า อ่านว่า เส้า สร้อย อ่านว่า ส้อย
หากเป็นคำควบกล้ำไม่เเท้ที่มีตัว ทร
ให้อ่านออกเสียงเป็น ซ เช่น
คำที่ใช้ ทร เเต่ออกเสียงเป็น ซ
ทรวดทรงทราบทรามทราย ทรุดโทรมหมายนกอินทรีย์
มัทนรี อินทรีย์มี เทริด นนทรี พุทราเพรา
ทรวงไทรทรัพย์แทรกวัด โทรมนัสย์ฉะเชิงเทรา
ตัว "ทร" เหล่านี้เรา ออกเสียงเป็นเสียง "ซ"
จาก หลักภาษาไทย ของ กำชัย ทองหล่อ
ทรวดทรงทราบทรามทราย ทรุดโทรมหมายนกอินทรีย์
มัทนรี อินทรีย์มี เทริด นนทรี พุทราเพรา
ทรวงไทรทรัพย์แทรกวัด โทรมนัสย์ฉะเชิงเทรา
ตัว "ทร" เหล่านี้เรา ออกเสียงเป็นเสียง "ซ"
จาก หลักภาษาไทย ของ กำชัย ทองหล่อ
* แต่ถ้า ท กับ ร ควบกันแล้วออกเสียงกล้ำกันสนิท
ก็จะนับว่าเป็นคำควบกล้ำเเท้ เช่น นิทรา อ่านว่า นิด-ทรา เป็นต้น
อ้างอิง
ที่มาและได้รับอนุญาตจาก :
เอกรินทร์ สี่มหาศาล และคณะ. ภาษาไทย ป.4. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น