วันอาทิตย์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2556

บทความ ภาษาไทยกับวัยรุ่นไทย
สังคมเราในปัจจุบันนี้โลกเราได้มีเทคโนโลยีมาเกี่ยวข้องอย่างมากในชีวิตของคนไทยเรา ทำให้มีความสะดวกในการใช้ชีวิตประจำวันรวมทั้งการสื่อสารด้วย ซึ่งในประเทศไทยนี้เยาวชนยุคใหม่บางส่วนได้นำค่านิยมผิด ๆ มาใช้กัน นั้นก็คือการใช้ภาษาไทยที่ผิด โดยเยาวชนกลุ่มนั้นคิดว่าเมื่อใช้แล้วมันเก๋ดี มันเท่ห์ดี แต่หารู้ไม่ว่าอาจจะทำให้ภาษาไทยของเราเปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิงและทำให้เยาวชนยุคหลังๆใช้ภาษาไทยไม่ถูกต้องตามไปด้วย ประเทศไทยของเรามีภาษาเป็นของตนเองแสดงออกถึงความเป็นเอกราชและความภาคภูมิใจของคนไทยเรา ภาษาไทยเป็นมรดกของคนไทยมายาวนาน แต่เยาวชนยุคบางส่วนใหม่กลับไม่รู้คุณค่าของมันเลย
       การใช้ภาษาไทยที่ผิด ๆ ของวัยรุ่นนั้นเป็นสิ่งที่จะทำให้ภาษาไทยวิบัติลงไปจริง ๆ ซึ่งจะเห็นได้จากที่วัยรุ่นใช้สื่อสารกันทาง msn เช่นคำว่า ทามอะไรอยู่-ทำอะไรอยู่ เปนอะไร-เป็นอะไร เพราะคำเหล่านี้ทำให้พิมพ์ง่าย สื่อสารกันได้เร็ว และดูเก๋ด้วย แต่ถ้าคิดอีกแง่มุมหนึ่ง การที่ภาษาไทย 1คำ สามารถเขียนได้หลายแบบ เพราะภาษาไทยมีพยัญขนะที่ออกเสียงเหมือน ๆ กัน มีสระที่เสียงคล้าย ๆ กัน จึงทำให้สามารถเขียนออกมาได้หลายแบบ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าภาษาไทยนั้นสามารถดัดแปลง เปลี่ยนแปลงคำได้หลากหลาย โดยที่ความหมายเหมือนเดิม แต่ลักษณะการเขียนผิดออกไป เป็นเสมือนการสร้างคำ สร้างภาษให้มีการวิบัติมากขึ้น การใช้คำใช้ภาษาไปผิดๆ ทำให้เป็นการฝึกนิสัยในการใช้ภาษาไทยที่ไม่ถูกต้องตามหลักภาษา และฉันกลาพูดได้เลยว่าวัยรุ่นไทยสมัยนี้เขียนคำ สะกดคำในภาษาไทย ได้ไม่ถูกตามตัวสะกด และเขียนภาษาไทยได้ไม่ถูกต้องตามหลักภาษา พูดไม่ถูกอักขระ ไม่มีคำควบกล้ำ บางคนพูดภาษาไทยไม่ชัดเจนด้วยซ้ำไปและอยากจะยกตัวอย่างการใช้ภาษาไทยของวัยรุ่นจากความคิดเห็นของดร.นพดล กรรณิกา ว่า เมื่อวันที่ 24 ก.ค. ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยความสุขชุมชน มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจภาคสนาม เรื่อง วันภาษาไทยแห่งชาติ กับสิ่งที่คนไทยต้องการรักษาไว้ในสังคมไทย: กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 2,277 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 17-20 ก.ค. พบประเด็นแรกที่น่าเป็นห่วงคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 85.3 ไม่ทราบว่า วันภาษาไทยแห่งชาติตรงกับวันใด มีเพียงร้อยละ 14.7 ที่ทราบและตอบถูกว่า วันภาษาไทยแห่งชาติตรงกับวันที่ 29 กรกฎาคมของทุกปี เมื่อสอบถามความรู้เกี่ยวกับองค์ประกอบสำคัญของภาษาไทย พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 84.9 ไม่ทราบว่าภาษาไทยมีสระกี่รูป ร้อยละ 81.2 ไม่ทราบความหมายของร้อยกรอง ร้อยละ 75.0 ไม่ทราบความหมายของร้อยแก้ว ร้อยละ 64.2 ไม่ทราบวรรณยุกต์ในภาษาไทยว่ามีกี่รูป และร้อยละ 11.7 ไม่ทราบว่าพยัญชนะไทยมีกี่ตัว  เมื่อถามถึงพยัญชนะภาษาไทยที่สับสนในการใช้มากที่สุด พบว่า ร้อยละ 26.1 ระบุเป็นตัว รองลงมาคือ ร้อยละ 13.6 ระบุ เป็น ร้อยละ 9.8 ระบุเป็น ร้อยละ 5.8 ระบุเป็น ร้อยละ 4.5 ระบุเป็น และร้อยละ 4.5 เท่ากัน ระบุเป็น ตามลำดับ  นอกจากนี้ ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 65.9 มีปัญหาเรื่องเขียนภาษาไทยผิด ร้อยละ 31.9 จับใจความผิด ร้อยละ 29.6 พูดผิด ร้อยละ 27.5 อ่านผิด ร้อยละ 18.6 ฟังผิด เป็นต้น
        ส่วนกลุ่มบุคคลที่มีส่วนทำให้เกิดปัญหาในการใช้ภาษาไทย ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 80.6 ระบุคือกลุ่มวัยรุ่น ร้อยละ 46.0 ระบุเป็นกลุ่มนักร้อง ร้อยละ 44.8 ระบุเป็นกลุ่มดารานักแสดง ร้อยละ 18.1 ระบุผู้ดำเนินรายการวิทยุ ร้อยละ 17.2 ระบุเป็นนักการเมือง ร้อยละ 17.2 ระบุเป็นพิธีกรรายการโทรทัศน์ ร้อยละ 15.8 ระบุเป็นผู้ประกาศข่าว และร้อยละ 8.9 ระบุเป็นครูอาจารย์ ตามลำดับ ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 92.5 ระบุต้องเร่งแก้ไขอนุรักษ์ฟื้นฟูการใช้ภาษาไทยในช่วงเวลานี้ ในขณะที่เพียงร้อยละ 7.5 ระบุว่าไม่ต้องเร่งแก้ไข เมื่อสอบถามถึงสิ่งที่ต้องรักษาไว้ในสังคมไทย ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 72.2 ระบุเป็นศิลปวัฒนธรรม รองลงมาคือร้อยละ 68.5 ระบุภาษาไทย ร้อยละ 68.1 ระบุเป็นการช่วยเหลือ มีน้ำใจต่อกัน ร้อยละ 60.1 ระบุความกตัญญู รู้จักตอบแทนบุญคุณ ร้อยละ 59.5 ระบุการเคารพผู้อาวุโส ร้อยละ 59.0 ระบุความสามัคคี ร้อยละ 56.9 ระบุความรักชาติ ร้อยละ 54.1 ระบุการให้อภัย และร้อยละ 46.9 ระบุความเชื่อเรื่องบาปบุญคุณโทษและกฎแห่งกรรม ตามลำดับ

อ้างอิง
http://suwarut.blogspot.com/2012/09/blog-post.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น