กาพย์สุรางคณางค์ ๒๘
กาพย์สุรางคนางค์๒๘
ลักษณะคำประพันธ์
๑. บท บทหนึ่งมี ๗
วรรคขึ้นต้นด้วยวรรครับ ต่อด้วยวรรครอง และวรรคส่ง แล้วขึ้นต้น ด้วยวรรคสดับ – รับ – รอง –
ส่ง ตามลำดับ รวม ๗ วรรค เป็น ๑ บท แต่ละวรรคมี ๔ คำ ๑ บทมี ๗ วรรค
รวม ๒๘ คำ จึงเรียกว่า กาพย์สุรางคนางค์
๒๘
๒. สัมผัส
ก. สัมผัสนอก หรือสัมผัสระหว่างวรรค
อันเป็นสัมผัสบังคับ มีดังนี้
คำสุดท้ายของวรรคต้น
(วรรครับ) สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคถัดไป คือวรรครอง
คำสุดท้ายของวรรคที่สามคือวรรคส่งสัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ห้า (วรรครับ)
คำสุดท้ายของวรรคที่สี่ (วรรคสดับ) สัมผัสกับคำที่หนึ่งหรือสองของวรรคที่ห้า
(วรรครับ) และคำสุดท้ายของวรรคที่ห้า (วรรครับ) ส่งสัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่หก
(วรรครอง) สัมผัสระหว่างบท ของกาพย์สุรางคนางค์ คือ คำสุดท้ายของวรรคที่ ๗
(วรรคส่ง) เป็นคำส่งสัมผัสบังคับให้บทต่อไป ต้องรับสัมผัสที่คำสุดท้ายของวรรคที่ ๓
(วรรคส่ง)
ตัวอย่าง
เดินดงพงไพร
เยือกเย็นเป็นใจ ที่ใดเปรียบปาน
เสียงไก่ก้องป่า
ขันลาวันวาน เสียงนกร้องขาน
สำราญหัวใจ
ข. สัมผัสใน
แต่ละวรรคของกาพย์สุรางคนางค์ แบ่งช่วงจังหวะเป็นวรรคละสองคำ ดังนี้
หนึ่งสอง – หนึ่งสอง
หนึ่งสอง – หนึ่งสอง หนึ่งสอง – หนึ่งสอง
ฯ
ข้อสังเกต
กาพย์สุรางคนางค์ไม่เคร่งสัมผัสใน
จะมีหรือไม่มีก็ได้ ขอเพียงใช้คำที่อ่านแล้วราบรื่น
ตามช่วงจังหวะของแต่ละวรรคนั้น
ๆ เท่านั้น
ส่วนสัมผัสนอกระหว่างวรรคที่สองกับที่สามและวรรคที่หกกับวรรคที่เจ็ด
จะมีหรือไม่มี
ก็ได้ไม่บังคับเช่นกัน
อ้างอิง
http://www.tangklon.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น