วันอังคารที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
วันอาทิตย์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
นางเงือกในวรรณคดีไทย
นางเงือก
เงือกในพระอภัยมณีนั้นอาศัยอยู่ในทะเลลึก
เป็นสัตว์ครึ่งคนครึ่งปลา ครั้นมีเรืออับปาง พวกนางเงือกก็ไปฉุดมนุษย์มาเป็นคู่
ทำให้ลูกหลานเงือกต่างรู้ภาษามนุษย์
รวมถึงเงือกพ่อเงือกแม่และนางเงือกของพระอภัยมณีก็รู้เช่นกัน
สินสมุทรเองยังพิศวงกับรูปลักษณ์ของตัวเงือก ดังปรากฏในบทประพันธ์ ความว่า
เห็นฝูงเงือกเกลือกกลิ้งมากลางชล คิดว่าคนมีหางเหมือนอย่างปลา
ครั้นถามไถ่ไม่พูดก็โผนจับ ดูกลอกกลับกลางน้ำปล้ำมัจฉา
ครั้นจับได้ให้ระแวงแคลงวิญญาณ์ เช่นนี้ปลาหรืออะไรจะใคร่รู้
ฉุดกระชากลากหางขึ้นกลางหาด แลประหลาดลักษณามีตาหู
จะเอาไปให้พระบิดาดู
แล้วลากลู่เข้าในถ้ำด้วยกำลัง
จะเห็นว่าเงือกของสุนทรภู่นั้นมีความเป็นสากล และสอดคล้องกับเงือกในทัศนะของชาวตะวันตกอย่างมาก
โดยเฉพาะเงือกที่มีชื่อเสียงซึ่งปรากฏในนิทานเรื่อง The Little Mermaid ของ ฮันท์ คริสเตียน
แอนเดอร์สัน
นักเขียนชาวเดนมาร์กก็มีตัวละครเอกเป็นครึ่งคนครึ่งปลา รูปร่างหน้าตาเหมือนนางเงือกในพระอภัยมณีอย่างชัดเจน
นักวิชาการบางกระแสกล่าวว่า
สุนทรภู่ได้แรงบันดาลใจในการสร้างตัวละครนางเงือกมาจากการติดต่อพูดคุยกับพวกตะวันตกที่มาค้าขายกับประเทศสยามในขณะนั้น
ซึ่งหากดูตามประวัติแล้ว
วังหลังที่สุนทรภู่เคยอาศัยก็อยู่ในบริเวณที่มีการติดต่อการค้า
นอกจากนี้ยังมีข้อคิดเห็นส่วนหนึ่งที่เชื่อว่านางเงือกของสุนทรภู่มีต้นเค้ามาจาก
ปลาพะยูน เพราะบรรดาชาวเรือในอดีตต่างก็เคยคิดว่าปลาชนิดนี้เป็นเงือกเช่นกัน
อย่างไรก็ดี
ไม่ว่าสุนทรภู่จะได้ต้นแบบนางเงือกมาจากที่ใด
หรือจะเป็นจินตนาการสร้างสรรค์ของ
ท่านสุนทรภู่เองทั้งหมดก็ตามที
แต่เมื่อใดก็ตามที่พูดถึงเงือก เราก็มักจะนึกถึงนางเงือก
ที่มีรูปลักษณ์อย่างในพระอภัยมณีหรือ
The Little Mermaid
เสมอ อาจกล่าวได้อีกนัยหนึ่งว่า สุนทรภู่ได้สถาปนาภาพนางเงือกไทยในแบบสากลอย่างที่รู้จักกันจนถึงทุกวันนี้
ภาพดังกล่าวของนางเงือกอาจจะเห็นได้ชัดเจนขึ้นจากตอนที่พระอภัยมณีได้
ยลโฉมของนางเป็นครั้งแรก ดังเนื้อความในนิทานที่ว่า
พงศ์กษัตริย์ทัศนานางเงือกน้อย
ดูแช่มช้อยโฉมเฉลาทั้งเผ้าผมประไพพักตร์ลักษณ์ล้ำล้วนขำคม ทั้งเนื้อนมนวลเปล่งออกเต่งทรวงขนงเนตรเกศกรอ่อนสะอาด ดังสุรางค์นางนาฏในวังหลวงพระเพลินพิศคิดหมายเสียดายดวง แล้วหนักหน่วงนึกที่จะหนีไป
หากจะเทียบกับผู้หญิงคนอื่นๆ
ที่มาเกี่ยวพันกับพระอภัยมณีแล้ว นางเงือกดูจะมีเล่ห์
เหลี่ยมน้อยกว่านางอื่นๆ
และยอมยกใจให้พระอภัยมณีเพราะคำหวานหว่านล้อมอย่างที่
ฝ่ายชายถนัด อย่างไรก็ตาม
ความรักของนางเงือกนั้นอาจถือได้ว่าเป็น รักสนองคุณ
เพราะพระอภัยมณีนั้นมีบุญคุณที่ไม่ทำร้ายพ่อเงือกเมื่อคราวพบกันที่ถ้ำนางผีเสื้อสมุทร
ในครั้งนั้นพ่อเงือกได้ปฏิญาณว่าจะเป็นข้ารับใช้พระอภัยมณีจนสิ้นชีวิต
โครงเรื่องในลักษณะนี้มักพบเห็นเสมอในนิทานคำกลอนของสุนทรภู่
อาทิเรื่อง โคบุตร
ก็มีให้เห็นบ่อยครั้ง เมื่อพระโคบุตรช่วยชีวิตหรือชุบชีวิตใครก็ตาม
ไม่ว่าจะเป็นยักษ์ วิทยาธร
คนธรรพ์ ลิงเผือก หรือนกกระจาบ ฝ่ายที่ได้รับการช่วยเหลือให้มีชีวิตอยู่ต่อไปต่างซาบซึ้งใจและยอมอยู่ใต้อำนาจของพระโคบุตรทั้งสิ้น
แม้ก่อนหน้านั้นจะเคยเป็นศัตรูกันมาก่อนก็ตาม
เช่นเดียวกับพ่อเงือกในเรื่องพระอภัยมณี แรกทีเดียวก็คิดว่าตนต้องตายอย่างแน่นอนเพราะถูกลูกยักษ์อย่างสินสมุทรจับตัวมา
แต่เมื่อได้พบพระอภัยมณีซึ่งสัญญาว่าจะปล่อยตนกลับไป
ก็เท่ากับว่าพระอภัยมณีได้เป็นผู้ช่วยชีวิตตนไว้ ดังนั้นจึงสมควรแล้วที่พ่อเงือกจะยอมตัวเป็นข้าแก่พระอภัยมณี
และบุญคุณนี้ยังถือเป็นหน้าที่ของแม่เงือกและลูกเงือกจะต้องร่วมซาบซึ้งและทดแทนด้วยกัน
เพราะเหตุนี้เองที่แม้พ่อเงือกและแม่เงือกจะต้องตายไปด้วยน้ำมือของผีเสื้อสมุทรในคราวที่พาพระอภัยหนี
แต่นางเงือกก็ไม่ถือโทษโกรธแค้นพระอภัยมณีแต่อย่างใด เพราะถือว่าพ่อเงือก “ยอมเป็นข้ารับใช้พระอภัยมณีจนสิ้นชีวิต”
การสูญเสียพ่อและแม่ของนางเงือกจึงเป็นเรื่อง “การตายในหน้าที่”มากกว่าพระอภัยมณีจะเป็นต้นเหตุนอกจากนั้น
นางเงือกยังต้องรับภาระตกทอดในการรับใช้พระอภัยมณีแทนพ่อกับแม่ที่จากไป
นางเงือกจึงไม่ค่อยมีปากเสียงกับพระอภัยมณีเท่าใดนัก หน้าที่หลักคือดูแลลูกอย่าง สุดสาคร
จนเติบใหญ่และได้ไปออกรบช่วยพ่อในเวลาต่อมา
บทบาทของนางเงือกก็น่าสงสารไม่น้อยเมื่อมองด้วยสายตาของคนปัจจุบันเพราะเมื่อจากเกาะแก้วพิสดารไปแล้ว
พระอภัยมณีก็ไม่เคยกลับมารับนางตามสัญญา(จะแวะมาเยี่ยมบ้างก็ตอนท้ายเรื่อง)
ความสุขของนางยังพอมีอยู่บ้างเมื่อตอนหลังพระอินทร์เห็นใจช่วยตัดหางปลาและให้นางมีขาอย่างมนุษย์
และสุดสาครก็รับไปอยู่เมืองลังกากับลูกๆ
หลานๆ ด้วยกันอย่างมีความสุข
อ้างอิง
http://www.aksorn.com/lib/detail_print.php?topicid=375
|
วันอังคารที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
กาพย์สุรางคณางค์ ๒๘
กาพย์สุรางคณางค์ ๒๘
กาพย์สุรางคนางค์๒๘
ลักษณะคำประพันธ์
๑. บท บทหนึ่งมี ๗
วรรคขึ้นต้นด้วยวรรครับ ต่อด้วยวรรครอง และวรรคส่ง แล้วขึ้นต้น ด้วยวรรคสดับ – รับ – รอง –
ส่ง ตามลำดับ รวม ๗ วรรค เป็น ๑ บท แต่ละวรรคมี ๔ คำ ๑ บทมี ๗ วรรค
รวม ๒๘ คำ จึงเรียกว่า กาพย์สุรางคนางค์
๒๘
๒. สัมผัส
ก. สัมผัสนอก หรือสัมผัสระหว่างวรรค
อันเป็นสัมผัสบังคับ มีดังนี้
คำสุดท้ายของวรรคต้น
(วรรครับ) สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคถัดไป คือวรรครอง
คำสุดท้ายของวรรคที่สามคือวรรคส่งสัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ห้า (วรรครับ)
คำสุดท้ายของวรรคที่สี่ (วรรคสดับ) สัมผัสกับคำที่หนึ่งหรือสองของวรรคที่ห้า
(วรรครับ) และคำสุดท้ายของวรรคที่ห้า (วรรครับ) ส่งสัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่หก
(วรรครอง) สัมผัสระหว่างบท ของกาพย์สุรางคนางค์ คือ คำสุดท้ายของวรรคที่ ๗
(วรรคส่ง) เป็นคำส่งสัมผัสบังคับให้บทต่อไป ต้องรับสัมผัสที่คำสุดท้ายของวรรคที่ ๓
(วรรคส่ง)
ตัวอย่าง
เดินดงพงไพร
เยือกเย็นเป็นใจ ที่ใดเปรียบปาน
เสียงไก่ก้องป่า
ขันลาวันวาน เสียงนกร้องขาน
สำราญหัวใจ
ข. สัมผัสใน
แต่ละวรรคของกาพย์สุรางคนางค์ แบ่งช่วงจังหวะเป็นวรรคละสองคำ ดังนี้
หนึ่งสอง – หนึ่งสอง
หนึ่งสอง – หนึ่งสอง หนึ่งสอง – หนึ่งสอง
ฯ
ข้อสังเกต
กาพย์สุรางคนางค์ไม่เคร่งสัมผัสใน
จะมีหรือไม่มีก็ได้ ขอเพียงใช้คำที่อ่านแล้วราบรื่น
ตามช่วงจังหวะของแต่ละวรรคนั้น
ๆ เท่านั้น
ส่วนสัมผัสนอกระหว่างวรรคที่สองกับที่สามและวรรคที่หกกับวรรคที่เจ็ด
จะมีหรือไม่มี
ก็ได้ไม่บังคับเช่นกัน
อ้างอิง
http://www.tangklon.com
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)